วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

น้ำมันหอมระเหยไทยไปฝรั่งเศส

น้ำมันหอมระเหยไปฝรั่งเศส
น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) คืออะไร ?
น้ำมันหอมระเหย เป็นผลิตผลจากการสกัดพืชสมุนไพรนานาชนิด ซึ่งอาจสกัดมาจากส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชนั้นๆ เช่น สกัดมาจาก ผล ดอก ใบ เมล็ด เปลือก ก้าน ฯลฯ วิธีการสกัดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ การกลั่นด้วยไอน้ำ และการใช้สารเคมีเป็นตัวทำลาย หลังจากการสกัดน้ำมันหอมระเหยที่ได้จะถูกนำมาสังเคราะห์ เพื่อกลั่นแยกหาสารต่างๆ ที่มีกลิ่นหอม สารเหล่านี้เองที่จะถูกนำมาคัดเลือก ผสมผสานและสร้างขึ้นมาเป็นกลิ่นใหม่ๆ
กลิ่นน้ำมันหอมระเหย ที่ได้รับความนิยม ได้แก่
1. น้ำมันหอมระเหย - โรสแมรี่ ช่วยขจัดแบคทีเรีย-ขับเชื้อโรค ทำให้สดชื่นแจ่มใสช่วยให้มีสมาธิและมีกำลังใจ ถ้าใช้ในการนวดจะให้ความอบอุ่นกระตุ้นและปรับตัว เหมาะสำหรับผิวมัน
2. น้ำมันหอมระเหย - ลาเวนเดอร์ ช่วยกำจัดแบคทีเรีย และช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขับเชื้อโรคออกไป ทำให้สงบ และผ่อนคลาย ช่วยให้อารมณ์ เกิดความสมดุล ถ้าใช้ในการนวด จะช่วยให้นอนหลับสบายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ทำงานหนัก ถ้าใช้ผสมกับครีม-โลชั่นจะช่วยบำรุงผิวและลดความมันบนใบหน้า และยังช่วยสมานแผลได้อีกด้วย
3. น้ำมันหอมระเหย คาโมมายล์ ช่วยทำให้ผิวสะอาด ช่วยให้จิตใจแจ่มใส มีสมาธิแน่วแน่ ถ้าใช้นวดจะช่วยให้รู้สบาย และสงบเหมาะกับผิวแห้งและธรรมดาช่วยให้ผิวหนังรู้สึกผ่อนคลาย
4. น้ำมันหอมระเหย-ยูคาลิปตัส ช่วยให้หายใจโล่ง ช่วยให้มีความกระจ่าง ปลอดโปร่งและมีสมาธิ มีคุณสมบัติ ในการขจัดแบคทีเรียอีกด้วย ถ้าใช้นวด จะช่วยให้สดชื่น และฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายเหมาะกับผิวธรรมดาถึงผิวมัน
5. น้ำมันหอมระเหย-เป๊ปเปอร์มินต์ ช่วยกำจัดแบคทีเรีย ช่วยให้จิตใจแจ่มใส ปลอดโปร่ง ช่วยให้สดชื่นและมีชีวิตชีวา เหมาะสำหรับผิวมัน ไม่ควรใช้กับผิวที่แพ้ง่าย
6. น้ำมันหอมระเหย-มะนาว (เลมอน) ช่วยให้สดชื่น แจ่มใส มีสมาธิ ถ้าใช้นวดจะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น จะช่วยให้รู้สึกร่าเริงและกระตือรือร้น
7. น้ำมันหอมระเหย-เบอร์กาม็อท ช่วยดับกลิ่นและให้ความสดชื่น และเสริมสร้างอารมณ์ให้มีทัศนะในทางบวกมากขึ้น เหมาะสำหรับผิวมัน
8. น้ำมันหอมระเหย-กระดังงา (อีแลงอีแลง) ช่วยให้มั่นใจ และจิตใจสบาย ให้ความรู้สึกคลาสสิก ให้ความอบอุ่นและอารมณ์ รัญจวน ถ้าผสมกับครีม-โลชั่นจะช่วยลดความมันบนใบหน้าได้ เหมาะสำหรับผิวทุกประเภท
9. น้ำมันหอมระเหย-มะลิ (จัสมิน) ช่วยให้เกิดความมั่นใจ มองโลกในแง่ดี ช่วยผ่อนคลายและเกิดอารมณ์รักใช้ได้กับทุกประเภทผิว และดีมากสำหรับผิวแห้ง
10. สารสกัดจากการบูร ใช้รักษาหนังศีรษะ
11. น้ำมันหอมระเหย จากต้นชา (Tea tree) ช่วยทำความสะอาดผิวได้
12. น้ำมันหอมระเหย-ไม้ซีดาร์ ช่วยให้รู้สึกสงบและผ่อนคลาย
13. น้ำมันหอมระเหย-จากส้ม ช่วยให้การเผาผลาญพลังงาน เป็นไปตามปกติ ช่วยให้สดชื่น ผ่อนคลายความตึงเครียด จากการทำงานหนักมาทั้งวัน และยังให้ความรู้สึกเย้ายวน
14. น้ำมันหอมระเหยจาก-องุ่น ช่วยให้อารมณ์แจ่มใส สดชื่น
15. น้ำมันหอมระเหย- ตะไคร้หอม Lemongrass ช่วยทำความสะอาดผิวได้ดี
16. น้ำมันหอมระเหย-มินต์ ช่วยลดอาการบวมน้ำ และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตได้ดี
17. สารสกัดจากกำมะถัน ช่วยให้การเผาผลาญพลังงาน ให้เป็นไปตามปกติ
18. น้ำมันหอมระเหย-ดอกบัว (Lotus oil) ใช้บำรุงผิว
19. น้ำมันจากผลอะโวคาโด ใช้ผสมครีมบำรุงผิวหน้าและผิวกาย
20. น้ำมันจากจมูกข้าวสาลี ใช้ผสมครีมบำรุงผิวหน้าและผิวกาย
………………………………………………………………………………………………………………
การวิเคราะห์ จุดเด่น จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหย
จุดเด่น คือ กลิ่นที่มีให้เลือกหลากหลายกลิ่น แต่ละกลิ่นก็มีสรรพคุณแตกต่างกันไป และสามารถนำมาผสม      น้ำอาบหรือนำมานวดตัวเผื่อผ่อนคลาย
จุดด้อย คือ กลิ่นที่ผลิตออกมานั้นมีให้เลือกมากมายอยู่แล้ว แต่อาจยังไม่เป็นที่ถูกใจชาวต่างชาติมากนัก
โอกาส คือ จะมีการพัฒนาให้มีตัวเลือกมากขึ้น และจะส่งออกไปขายในหลายประเทศทั้งในยุโรปและอเมริกา
อุปสรรค คือ บรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่ผลิตจากแก้ว เวลาขนส่งอาจทำให้เกิดความเสียหาย รวมถึงการขนส่งจะมีค่าใช่จ่ายสูง

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศและการตลาดระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ            
             การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาช้า และการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ตัวอย่าง เช่น ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
การตลาดระหว่างประเทศ (International marketing)
ประกอบด้วย การค้นหา (Finding) และการสนองตอบความต้องการ (Satisfying) ของลูกค้าทั่วโลกโดยให้เหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งคู่แข่งขันภายในประเทศและคู่แข่งขันจากต่างประเทศตลอดจนการประสานงานกิจกรรมการตลาดร่วมกันภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ศิลปะและดนตรีร่วมสมัยของฝรั่งเศส

ศิลปะและดนตรีร่วมสมัยของฝรั่งเศส

Impressionist Music Impressionist Music เป็นศิลปะดนตรีสไตล์หนึ่ง เฟื่องฟูและเป็นที่นิยมในวัฒนธรรมดนตรีฝรั่งเศสในช่วงปลายศตวรรษที่19 ต่อกับต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะผลงานของ Claude Debussy นักประพันธ์เพลงเอกชาวฝรั่งเศส ดนตรีชนิดนี้มีลักษณะโดยรวมที่ให้เสียงลอยๆ เบาๆ ฟุ้งฝัน ให้ความรู้สึกบรรยากาศและอารมณ์เคลิ้มกึ่งฝันกึ่งจริง ท่วงทำนอง (Melody) และจังหวะ (Rhythm) ฟังแล้วอาจจับต้องยาก ร้องตามหรือเคาะจังหวะตามไม่ได้ง่ายๆ ท่วงทำนองมักมาเป็นห้วงๆ กระจัดกระจาย ให้ไปรวมกันในความรู้สึกของผู้ฟังเอง อย่างไรก็ตามลักษณะเด่นที่ทำให้ดนตรีชนิดนี้มีเสน่ห์ชวนประทับใจและติดตรึงใจแต่แรกที่ได้ยิน ก็เห็นจะเป็นเรื่องสีสันของเสียง (Tone colour) ที่ไพเราะงดงามมาก ทั้งนี้เกิดจากการเลือกใช้บันไดเสียง คอร์ด และการเลือกใช้เครื่องดนตรีในการบรรเลงที่มีความเฉพาะตัว และผสมผสานกันเป็นสีเสียงใหม่ แปลกแหวกแนวอย่างยิ่งจากเพลงยุคคลาสสิกและโรแมนติคโดยทั่วไป
ดนตรีอิมเพรสชั่นนิสต์เป็นกระแสศิลปะดนตรีที่เกิดจากความต้องการของศิลปินฝรั่งเศสที่จะแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ให้พ้นจากดนตรีคลาสสิก-โรแมนติคสายเยอรมัน ที่พัฒนามาเต็มที่จนกลายเป็นดนตรีสำเนียงสากลของยุโรปมานับหลายร้อยปี บรรยากาศเช่นนี้มิใช่เกิดในขึ้นกับศิลปะดนตรีเท่านั้น แต่เป็นกระแสการแสวงหาโดยรวมของศิลปินหลายๆ แขนง ทั้งจิตรกรรมและวรรณกรรมด้วย
บรรยากาศของวัฒนธรรมฝรั่งเศสในช่วงกลางถึงปลายศตวรรษที่ 19 นั้น กรุ่นไปด้วยประกายความคิดและพลังสร้างสรรค์ที่จะเสนอสิ่งใหม่ๆ ของศิลปินรุ่นใหม่ ซึ่งต่างก็ทดลองเพื่อหาภาษาศิลปะที่ทันกับยุคสมัย ความคิดและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้เสพศิลปะในยุคนั้น เนื้อหารวมถึงเรื่องราวรวมทั้งไวยากรณ์ศิลปแขนงต่างๆ ที่เคยมีมาแต่เดิม เริ่มที่จะคับแคบและรกรุงรังด้วยกฎเกณฑ์เกินไปสำหรับศิลปินยุคนี้
เช่นเดียวกับที่จิตรกรฝรั่งเศสร่วมสมัยเดียวกันนั้น หันมาสร้างภาพในลักษณะอิมเพรสชั่นนิสต์ ไม่ว่าจะเป็น Camille Pissaro, Edouard Manet, Edgar Degars, Auguste Renoir หรือ Claude Monet อันที่จริงคำว่า Impressionist ที่ใช้ในงานจิตรกรรมและประยุกต์เรียกงานดนตรีของเดบูซี มีที่มาจากรูปเขียนของโมเนท์ที่นำออกแสดงในปี ค.ศ.1867 ที่ชื่อว่า “Impression: Sunrise"
แม้ว่างานวรรณกรรม บทกวีในแนวสัญลักษณ์นิยมและจิตรกรรมอิมเพรสชั่นนิสต์ จะแสดงออกด้วยสื่อต่างกัน แต่ก็มีความคิดพื้นฐานคล้ายกัน คือพยายามตัดทอนเนื้อหาเช่น จิตรกรก็จะวาดภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนไหวไปมาเสมอ ไม่มีตัวตนชัดเจนเช่น ภาพของกลุ่มหมอกที่กำลังลอยตัวจากผิวน้ำ หรือภาพเงาของสิ่งต่างๆ ที่สะท้อนอยู่บนพื้นน้ำที่พลิ้วไหว ภาพกลุ่มเมฆที่กำลังลอยตัวอยู่บนท้องฟ้า ส่วนกวีก็อาจแต่งบทกวีที่เนื้อเรื่องไม่มีเนื้อหาสาระชัดเจน เนื้อความที่เขียนออกมาก็ยากที่จะจับใจความได้ ปล่อยให้ผู้อ่านคิดและจินตนาการเอง
เมื่อตัดทอนเนื้อหาจนกลายเป็นความเลือนรางจนจับต้องไม่ติด ผู้อ่านผู้ดูผู้ฟังก็จะได้ไม่ยึดติดกับเนื้อหาหรือตัวภาพนั้นจนเกินไป แต่ศิลปินจะพยายามหาเทคนิควิธีการตามวิถีทางภาษาแห่งศิลปะของตน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ดูผู้ฟังก้าวผ่านไปสัมผัสถึงส่วนละเอียดอ่อนลึกล้ำของเนื้อหาและภาพที่คลุมเคลืออยู่นั้นเช่น จิตรกรจะใช้สีสันและแสงเงามุ่งสร้างให้ผู้ดูสัมผัส ”ความเบา ล่องลอย ความไม่อยู่นิ่ง“ ของกลุ่มเมฆหมอก โดยไม่จำเป็นต้อง “เห็นเป็นภาพเมฆหมอก” อย่างชัดเจน หรือพยายามให้เราสัมผัสถึง ” ความไหวระริก“ ของประกายแดดไหวที่ระยิบอยู่บนผืนน้ำ ส่วนกวีก็พยายามที่จะเลือกเฟ้นคำที่มีเสียงอันสวยงาม ให้จินตนาการมากกว่าจะให้ความหมาย “เสียง“ ของสระพยัญชนะกลายเป็นแก่นสารมากกว่า “ความหมาย“ ของคำๆ นั้นเสียเอง
นอกจากนี้เนื้อหาที่จิตรกรหรือกวีมุ่งที่จะกล่าวถึง ก็เปลี่ยนจากเนื้อหาเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ เช่นเจ้าชายเจ้าหญิง ภาพจากเรื่องราวในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวอันเป็นอุดมคติที่ยิ่งใหญ่ในความคิดของชาวตะวันตกมาเป็นเรื่องราวหรือภาพของสิ่งที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวันของคนทั่วไปเช่น ภาพคนแล่นเรือท่ามกลางแสงแดดอันอบอุ่น Boating ของ Manet หรือภาพดวงอาทิตย์ขึ้นเช่น ภาพ Impression : Sunrise ของ Monet